องค์กรฯ ต่างชาติจัดอันดับประเทศที่มีคอร์รัปชั่น ไทยตกต่ำกว่าเดิม

ทีมข่าวเบนาร์นิวส์
2017.01.25
กรุงวอชิงตัน
TH-soldiers-1000 ทหารย่ำเท้ากลับเข้าค่าย เนื่องในวันสถาปนากรมทหารราบที่ 11 กรุงเทพฯ เมื่อ 18 มกราคม 2560
เอเอฟพี

ประเทศไทยที่มีการปกครองโดยรัฐบาลทหาร ถือเป็นหนึ่งในประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกที่มีการดำเนินการต่อต้านการคอร์รัปชั่นที่ย่ำแย่ที่สุด ในปีที่ผ่านมา องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) องค์กรนานาชาติที่ดำเนินการเฝ้าสอดส่องการทุจริตคอร์รัปชั่นเผยเมื่อวันพุธ ในการจัดอันดับดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index หรือ CPI) ประจำปี สำหรับ 176 ประเทศทั่วโลก

“ประเทศที่ถูกจัดอยู่ในอันดับต่ำนั้น ส่วนใหญ่มาจากการบริหารงานของสถาบันรัฐที่ขาดความรับผิดชอบ ขาดความน่าเชื่อถือ ขาดการควบคุมดูแล และกำจัดพื้นที่การมีส่วนร่วมภาคประชาชน ซึ่งส่งผลให้ประเทศนั้นๆ ขาดประสิทธิภาพในการต่อต้านการคอร์รัปชั่น” องค์กร TI ประจำกรุงเบอร์ลิน กล่าวในรายงานเผยแพร่การจัดอันดับดังกล่าว

"การที่มีดัชนีคอร์รัปชั่นสูง นอกจากการทุจริตฉ้อฉลทั่วไปที่เกิดขึ้นประจำวันแล้วนั้น ย่อมส่งผลให้ประชาชนขาดความไว้วางใจในสถาบันรัฐ ระบอบประชาธิปไตย และกฎหมาย"

สำหรับประเทศที่มีความโปร่งใสมากที่สุดปี 2559 เป็นอันดับหนึ่ง คือ เดนมาร์ก และนิวซีแลนด์ โดยมีคะแนนเท่ากัน คือ 90 จาก 100 คะแนนเต็ม อันดับ 2 ตามมาด้วยประเทศฟินแลนด์  89 คะแนน และที่สาม คือ ประเทศสวีเดน 88 คะแนน

และในปี 2559 นี้ องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติได้จัดอันดับประเทศไทยที่อันดับ 101 จากทั้งหมด 176 ประเทศ ซึ่งถือว่า ไทยอยู่ในอันดับที่ย่ำแย่ โดยเมื่อเปรียบเทียบในปีที่ผ่านมาประเทศไทยอยู่อันดับที่ 76 จากทั้งหมด 168 ประเทศ

โดยรายงานการสำรวจที่เผยแพร่ ได้กำหนดคะแนนการวัดความโปร่งใสสูงสุดที่ 100 คะแนน โดย 0 เป็นคะแนนต่ำสุด แสดงถึงประเทศที่มีดัชนีคอร์รัปชั่นสูงที่สุด TI ให้คะแนนประเทศไทยที่ 35 คะแนน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยรวมของทุกประเทศ ทั้งยังได้คะแนนต่ำกว่าเมื่อปีที่แล้วที่ได้ 38 คะแนน

ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นมีความเชื่อมโยงกัน "ระหว่างการทุจริตคอร์รัปชั่นและความยุ่งเหยิงทางการเมือง" TI กล่าวในรายงาน

"รัฐบาลใช้อำนาจควบคุม ขาดอิสระในการตรวจสอบ และจำกัดสิทธิเสรีภาพ ทำให้สาธารณชนเสื่อมความไว้วางใจในประเทศ” รายงานระบุ

"รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของไทยมีนัยสำคัญที่มุ่งเน้นเรื่อง การทุจริตคอร์รัปชั่น อำนาจการควบคุมโดยรัฐบาลทหาร และรัฐบาลที่ขาดความน่าไว้วางใจ การบั่นทอนความมั่นคง และที่สุดจะหวนคืนสู่การปกครองโดยรัฐบาลพลเรือน" รายงานกล่าวเพิ่มเติม "อันนี้เห็นได้ชัดเจนว่า เป็นการขาดอิสระในการตรวจสอบดูแล และการรายงานโต้ตอบตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น"

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง