นกเงือก ดัชนีบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่า

นาซือเราะ
2016.05.18
นราธิวาส
babyhornbill1

เจ้าหน้าที่ตำรวจ จังหวัดนราธิวาส พบลูกนกเงือกหัวแรด ที่ถูกขโมยจากโพรงที่ 29 ในเทือกเขาบูโด เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ที่ผ่านมา ภาพวันที่ 17 พ.ค. 2559 (นาซือเราะ/เบนาร์นิวส์)

babyhornbill2

เจ้าหน้าที่ตำรวจ พบลูกนกเงือกหัวแรด ที่ร้านขายสัตว์ป่า ในอำเภอยี่งอ ผู้ขายรับสารภาพว่า ซื้อมาจากผู้อื่น วันที่ 17 พ.ค. 2559 (นาซือเราะ/เบนาร์นิวส์)

babyhornbill3

ลูกนกเงือก ที่เจ้าหน้าที่กำลังจะนำกลับไปที่โพรง สู่ธรรมชาติ วันที่ 17 พ.ค. 2559 (นาซือเราะ/เบนาร์นิวส์)

babyhornbill4

เจ้าหน้าที่กำลังปีนต้นไม้ เพื่อนำลูกนกเงือก กลับไปคืนรัง ที่โพรง 29 วันที่ 17 พ.ค. 2559 (นาซือเราะ/เบนาร์นิวส์)

hornbill5-1000

นกเงือกเกาะกิ่งไม้ ในเขตเทือกเขาบูโด จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเทศไทย เมื่อ 12 พฤษภาคม 2559 (นาซือเราะ/เบนาร์นิวส์)

hornbill6

นกเงือกกางปีกเตรียมบิน เขตเทือกเขาบูโด จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อ 12 พฤษภาคม 2559 (นาซือเราะ/เบนาร์นิวส์)

hornbill7

นกเงือกบินออกจากกิ่งไม้ เขตเทือกเขาบูโด ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อ 12 พฤษภาคม 2559 (นาซือเราะ/เบนาร์นิวส์)

hornbill8

นกเงือกเกาะกิ่งไม้ ในป่าทึบ เขตเทือกเขาบูโด ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อ 12 พฤษภาคม 2559 (นาซือเราะ/เบนาร์นิวส์)

hornbill9

นกเงือกเกาะกิ่งไม้ ในป่าทึบ เขตเทือกเขาบูโด ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อ 12 พฤษภาคม 2559 (นาซือเราะ/เบนาร์นิวส์)

นกเงือก เป็นนกขนาดใหญ่และสวยงาม การที่มีนกเงือกในผืนป่าจำนวนมากนั้น แสดงให้เห็นว่าพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งป่า คือ มีความหลากหลายของพืชพันธุ์และสัตว์มากพอที่จะรองรับนกเงือกจำนวนมากได้

จากข้อมูลขององค์การท่องเที่ยว จังหวัดนราธิวาส พบว่า มีนกเงือกอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในพื้นที่กลุ่มป่าฮาลาบาลา ถึงแม้ว่าบางสายพันธุ์อาจสูญหายไป แต่ยังคงพบนกเงือก 7 ชนิด จากทั้งหมด 13 ชนิด ที่มีการสำรวจพบในประเทศไทย

กลุ่มป่าฮาลาบาลา เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาสันกาลาคีรี  เป็นเทือกเขากั้นพรมแดนระหว่างไทย และมาเลเซีย โดยคลอบคลุมอาณาเขตบางส่วนของจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติ 6 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 2 แห่ง

ในปัจจุบันนกเงือกกำลังถูกคุกคาม ทำให้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ซึ่งหากนกเงือกสูญพันธุ์ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกหลายชนิดอาจสูญพันธุ์ตามไปด้วย การที่ประชากรนกเงือกลดลงเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ภัยจากมนุษย์ ที่ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของนก การทำไม้ การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำเกษตรกรรม สวนยางพารา และสวนผลไม้ รวมถึงการล่านกเงือกเพื่อเป็นอาหาร เป็นเครื่องประดับ หรือเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

เมื่อวันอังคาร (17 พ.ค. 2559) เจ้าหน้าที่ตำรวจจังหวัดนราธิวาส นำกำลังตรวจสอบร้านขายสัตว์ป่าในอำเภอยี่งอ พบสัตว์ป่าจำนวนมาก พร้อมด้วย ลูกนกเงือกหัวแรด จากป่าเทือกเขาบูโด ที่หายไป ซึ่งผู้ต้องหารับสารภาพว่า ซื้อมาจากผู้อื่น เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ที่ผ่านมา

นางสาว นูรีฮัน ดะอูลี ผู้ช่วยนักวิจัยโครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวหลังจากทราบข่าวว่า “นกเงือกหัวแรดที่ยึดมาได้ เป็นลูกนกเงือก ที่หายจากโพรงที่ 29 ที่ทีมนักวิจัยติดตามอยู่”

โดยในวันเดียวกันนั้น เจ้าหน้าที่ได้นำลูกนกเงือก กลับไปที่โพรง สู่ธรรมชาติ เพราะถือเป็นสัตว์ป่าที่สำคัญ และเพื่อติดตามศึกษาพฤติกรรมจากพ่อแม่นกต่อไป

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง