อาเกาะ ขนมพื้นบ้านที่หาซื้อได้ในเดือนรอมฎอนเท่านั้น

นาซือเราะ
2016.06.21
ยะลา
TH-ako1

แม่ครัวก่อไฟด้วยเปลือกมะพร้าว เตรียมอบขนมอาเกาะ ที่ร้านในจังหวัดยะลา วันที่ 21 มิถุนายน 2559 (นาซือเราะ/เบนาร์นิวส์)

TH-ako2

แม่ครัวก่อไฟด้วยเปลือกมะพร้าว เตรียมไว้อบขนมอาเกาะ วันที่ 21 มิถุนายน 2559 (นาซือเราะ/เบนาร์นิวส์)

TH-ako3

ขนมอาเกาะขนาดต่างๆ ที่มีขายเฉพาะช่วงเดือนรอมฎอนเท่านั้น วันที่ 21 มิถุนายน 2559 (นาซือเราะ/เบนาร์นิวส์)

TH-ako4

ขนมอาเกาะที่เพิ่งเทเข้าอบสีสันน่ารับประทาน วันที่ 21 มิถุนายน 2559 (นาซือเราะ/เบนาร์นิวส์)

TH-ako5

ลูกจ้างร้านโชว์ขนมอาเกาะ ที่เพิ่งอบเสร็จใหม่ๆ วันที่ 21 มิถุนายน 2559 (นาซือเราะ/เบนาร์นิวส์)

TH-ako6

ลูกจ้างประจำร้านแคะขนมอาเกาะที่สุกแล้ว วันที่ 21 มิถุนายน 2559 (นาซือเราะ/เบนาร์นิวส์)

TH-ako7

ขนมอาเกาะของร้านที่ขายดีถึงวันละกว่าสองพันชิ้น วันที่ 21 มิถุนายน 2559 (นาซือเราะ/เบนาร์นิวส์)

ในช่วงเดือนรอมฎอน เป็นยามที่พี่น้องชาวมุสลิมถือศีลอดในช่วงกลางวัน กลายเป็นห้วงเวลาที่ชาวบ้านในสามจังหวัดชายแดนใต้ ทำขนมพื้นบ้านเพื่อขายให้พี่น้องได้กินเล่นยามละศีลในช่วงกลางคืน นอกจากนั้น ยังเป็นที่ชื่นชอบของคนไทยพุทธ และไทยเชื้อสายจีน อีกด้วย

ขนมอาเกาะ เป็นขนมพื้นบ้านของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่ชื่นชอบ เป็นขนมกินเล่นที่ทำมาจากไข่และกะทิ รสชาตินุ่มลิ้น คล้ายๆ กับขนมหม้อแกงหรือสังขยาไข่ หาซื้อได้ง่ายในช่วงเดือนรอมฎอนเท่านั้น

ร้าน “บ้านอาเกาะ” ตั้งอยู่ถนนมุสลิมบำรุง ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา ผลิตขนมอาเกาะเองและขายเอง ด้วยสูตรพิเศษ ที่ทำกันมาตั้งแต่รุ่นยายจนถึงรุ่นหลาน จึงทำให้ขนมอาเกาะของร้านนี้ขึ้นชื่อ และสามารถขายได้มากกว่า 2,000 ชิ้นต่อวัน

“ปีนี้มีคนสั่งขนมมากกว่าทุกปี ทำให้ต้องเพิ่มผู้ช่วยมาทำขนม 4 คน.. เราจะเริ่มทำขนมตีหนึ่งจนถึง 5 โมงเย็น ทำส่งพ่อค้าคนกลาง และขายที่บ้าน..” นางรุสณียะฮ์ เจ๊ะเว๊าะ เจ้าของร้านกล่าว

“ขนมอาเกาะของเราจะใช้ไข่เป็ด แป้งสาลี น้ำตาล มะพร้าว และน้ำเปล่า ผสมให้เข้ากัน หยอดใส่ลงแม่พิมพ์ จากนั้น จะดึงแผ่นเหล็กที่มีเปลือกมะพร้าวเผาไฟ สุมอยู่ด้านบนมาปิด แต่ละเตาใช้เวลาอบประมาณ 25 นาที ขนมเราเป็นที่ยอมรับของลูกค้าหลายกลุ่ม เพราะได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง ในงานแข่งขันทำขนมอาเกาะ ที่สวยงาม สะอาด อร่อย ถูกหลักอนามัย” นางรุสณียะฮ์ กล่าวเพิ่มเติม

“เดือนนี้มีขนมท้องถิ่นมากมาย สามารถหาซื้อกินได้ง่าย แต่เมื่อเทศกาลรอมฎอนผ่านพ้นไป ขนมหลายชนิดดังกล่าวก็หาซื้อไม่ได้ง่ายหรืออาจหาไม่ได้เลย โดยเฉพาะอาเกาะ อาจหาซื้อยากที่สุด ถ้าไม่ใช่รอมฎอน ไม่ใช่เฉพาะคนอิสลาม.. คนพุทธ คนจีน ก็ชอบนะ โดยเฉพาะขนมโบราณและเป็นขนมประจำถิ่น” นางไซนี ดอเลาะ อายุ 29 ปี ชาวจังหวัดยะลา ลูกค้าประจำร้านบ้านอาเกาะ กล่าวแก่เบนาร์นิวส์

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง