โรงเรียนหลายแห่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สั่งปิดเรียนโดยไม่มีกำหนด

ทีมข่าวเบนาร์นิวส์
2016.01.14
TH-school-1000 เด็กนักเรียนไทยมุสลิมในห้องเรียน โรงเรียนหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2551
เอเอฟพี

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม 2559 กรณีมีข่าวความไม่สงบที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ มีการแจ้งเตือนจากหน่วยงานความมั่นคงว่า นางอาภรณ์ สมพงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกูวา หมู่ 1 ต. ห้วยกระทิง อ. กรงปินัง จ. ยะลา ได้รับการแจ้งเตือนว่า กลุ่มก่อความไม่สงบที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ ได้ขู่เอาชีวิตครู ในระหว่างวันที่ 12–17 ม.ค. จึงได้รายงานให้ นายอาดุลย์ พรมแสง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ขออนุญาตสั่งปิดโรงเรียนโดยชั่วคราว เพื่อความปลอดภัยของครูและบุคลากร โดยทางโรงเรียนได้กำหนดหยุดเรียน 2 วันคือวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ หากครูยังมีความหวาดผวาอยู่ ทางเขตจะหารือกันอีกครั้ง 

นายอาดุลย์ พรมแสง ผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยะลาเขต 1 กล่าวว่า "เจ้าหน้าที่ทหาร หน่วยเฉพาะกิจยะลา13 รับผิดชอบรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ อ. กรงปินัง ได้มาแจ้งกับผู้อำนวยการโรงเรียนว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเตรียมที่จะก่อเหตุร้ายกับครู จึงขอให้หยุดการเรียนการสอนเป็นการชั่วคราว"

จึงได้สั่งการไปให้ ผู้บริหารสถานศึกษา วิเคราะห์สถานการณ์อย่างใกล้ชิด และตัดสินใจในการหยุดการเรียน โดยใช้อำนาจของผู้บริหาร และ ได้สั่งให้ครู บุตรธิกรณ์ จุลพล ครูของโรงเรียน ซึ่งเป็นครูไทยพุทธคนเดียว มาช่วยราชการที่สำนักงานเขตพื้นที่เป็นการชั่วคราวก่อน จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายไปในทางที่ดี  ส่วนผู้อำนวยการโรงเรียนนั้น หากไม่มั่นใจในความปลอดภัย ก็ให้มาทำงานที่สำนักงานเขตด้วยเช่นกัน

โดยมีการประสานการปฏิบัติกับหน่วยเฉพาะกิจยะลาที่ 13 และอำเภอกรงปินัง จัดกำลังทหารและฝ่ายปกครอง เข้าไปรักษาความปลอดภัยบริเวณโรงเรียนตลอด 24 ชั่วโมง

สำหรับ โรงเรียนบ้านกูวา มีครูประจำการอยู่ทั้งหมด 20 คน ในจำนวนนี้เป็นไทยพุทธ 2 คน คือ ครูผู้สอนหนึ่งคน และ ผู้อำนวยการ นอกนั้นเป็นครูไทยมุสลิม 18 คน

ส่วน นางอาภรณ์ สมพงษ์ ผู้อำนวยการ เพิ่งย้ายมาดำรงตำแหน่งเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้การประสานงานกับมวลชนในพื้นที่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการถูกข่มขู่ก็เป็นได้ ทางหน่วยเฉพาะกิจยะลา จะต้องสืบสวนและสอบสวนแหล่งข่าว ที่แจ้งข่าวนี้มา ว่า เป็นข่าวจริงหรือไม่อย่างไรกันต่อไป

โรงเรียนบ้านกูวา มีครูประจำการอยู่ทั้งหมด 20 คน ในจำนวนนี้เป็นไทยพุทธ 2 คน คือ ครูผู้สอนหนึ่งคน และ ผู้อำนวยการโรงเรียน นอกนั้นเป็นครูไทยมุสลิม 18 คน ส่วน นางอาภรณ์ สมพงษ์ ผู้อำนวยการ เพิ่งย้ายมารับตำแหน่งไม่นานมานี้ ทำให้การประสานงานกับมวลชนในพื้นที่ยังไม่ครอบคลุม น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการถูกข่มขู่ก็เป็นได้ ทางหน่วยเฉพาะกิจยะลา จะต้องสืบสวนและสอบสวนแหล่งข่าวที่แจ้งมาว่า เป็นข่าวจริงหรือไม่อย่างไร

คนร้ายไม่น่าทำร้ายครู หากประมาทไม่ได้

ส่วนนายอิสมะแอ ผู้ปกครองเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านกูวา กล่าวว่า "ใช่ ได้ยินเขาคุยกันเรื่องครูถูกขู่เหมือนกันที่ร้านน้ำชา ในหมู่บ้านวันนี้ แต่คิดว่าไม่น่าจะบานปลาย เพราะมีหลายโรงเรียนที่ถูกขู่ไม่ใช่เฉพาะที่นี่ คงเป็นข่าวตามกระแสวันครู เพราะมั่นใจว่าคนร้าย ไม่ทำร้ายครู ถ้าไม่จำเป็น"

ทางด้าน นายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า "การแจ้งเตือนทำร้ายครู  ถือเป็นเรื่องที่จะประมาทไม่ได้ เพราะความปลอดภัยครูสำคัญที่สุด ส่วนกำลังใจครูตอนนี้เหลือน้อยเต็มที อยากให้มีการบำรุงขวัญกำลังใจครูอย่างจริงจังสักที"

ครูและบุคลากรการศึกษาที่เสียชีวิต และโรงเรียนรัฐที่ถูกวางเพลิง

สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาเสียชีวิต 175 ราย ได้บาดเจ็บ 163 ราย

และได้เกิดเหตุน่าสลด เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2550 ที่มีชาวบ้านกลุ่มผู้หญิงและผู้ชายรุมทำร้ายครู จูหลิง ปงกันมูล ครูสอนศิลปะ โรงเรียนบ้านกูจิงลือปะ อ. ระแงะ จ. นราธิวาส จนได้รับบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

ส่วนเหตุการณ์วางเพลิงโรงเรียนของรัฐ ซึ่งเจ้าหน้าที่รับเป็นคดีความมั่นคง จำนวน 314 โรงเรียนนั้น แยกเป็นจังหวัดยะลา 81 โรงเรียน จังหวัดปัตตานี 133 โรงเรียน จังหวัดนราธิวาส 83 โรงเรียน และ จังหวัดสงขลา 17 โรงเรียน

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง