หน่วยงานรัฐร่วมสร้างฝายมีชีวิต บรรเทาปัญหาภัยแล้งในจังหวัดแดนใต้

ทีมข่าวเบนาร์นิวส์
2017.03.29
ยะลา
th-dike1

พ.อ.ชลัช ศรีวิเชียร ผบ.ฉก.ทพ.47 นำกำลังพลหารือร่วมกับชาวบ้าน อ.ยะหา เพื่อสร้างฝาย บริเวณบ้านบายอ อ.ยะหา จ.ยะลา วันที่ 28 มีนาคม 2560 (เบนาร์นิวส์)

th-dike2

กำลังพลหน่วยเฉพาะกิจ ทหารพราน 47 มัดเชือกขึงไผ่ ทำฝายร่วมกับชาวบ้านยะหา บริเวณบ้านบายอ อ.ยะหา จ.ยะลา วันที่ 28 มีนาคม 2560 (เบนาร์นิวส์)

th-dike3

พ.อ.ชลัช ศรีวิเชียร ผบ.ฉก.ทพ.47 มัดไม้ไผ่ เพื่อขึงทำฝาย บริเวณบ้านบายอ อ.ยะหา จ.ยะลา วันที่ 28 มีนาคม 2560 (เบนาร์นิวส์)

th-dike4

เด็กๆเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน บริเวณฝาย บ้านบายอ อ.ยะหา จ.ยะลา วันที่ 28 มีนาคม 2560 (เบนาร์นิวส์)

th-dike5

วัฒนธรรมจังหวัดยะลา พร้อมเครือข่ายทางวัฒนธรรมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอ จังหวัดสงขลา ร่วมกับชาวบ้านสร้างฝาย ที่สะพานอรรถเวที อ.เบตง จ.ยะลา วันที่ 28 มีนาคม 2560 (เบนาร์นิวส์)

th-dike6

ชาวบ้านกูวาพร้อมเจ้าหน้าที่ และนายราชิต สุดพุ่ม รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ร่วมสร้างฝายกั้นน้ำ เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้การเกษตร และป้องกันภัยแล้ง ที่บ้านคลองกูวา ม.1 ต.ห้วยกระทิง อ.กรงปินัง จ.ยะลา วันที่ 28 มีนาคม 2560 (เบนาร์นิวส์)

เมื่อย่างเข้าห้วงเดือนมีนาคม และเมษายนของทุกปี ชาวบ้านในหลายพื้นที่ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มักประสบกับสถานการณ์ภัยแล้ง หลายพื้นที่ขาดน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภค หน่วยงานรัฐหลายหน่วยในพื้นที่จึงร่วมมือกัน โดยนำยุทธศาสตร์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งแก่ประชาชน

กระทรวงวัฒนธรรม โดยวัฒนธรรมจังหวัดยะลา ได้นำเครือข่ายสภาวัฒนธรรม 4 จังหวัดภาคใต้ ร่วมสร้างฝายมีชีวิต ที่คลองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพื่อบรรเทาภัยแล้งตามศาสตร์พระราชา ในหลวงรัชกาลที่ 9 และพัฒนาการด้านคุณภาพชีวิต การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในการดำรงชีพของชุมชน โดยไม่ทำลายธรรมชาติ และยังสามารถใช้เป็นที่พักผ่อนเชิงธรรมชาติแก่ประชาชนในพื้นที่ เด็กๆถือโอกาสเล่นน้ำ คลายร้อน

"การนำข้าราชการ บุคลากร และเครือข่ายของกระทรวงวัฒนธรรม มาสร้างฝายกั้นน้ำในครั้งนี้ เพื่อเป็นการน้อมนำศาสตร์พระราชา ในหลวงรัชกาลที่ 9 สู่การพัฒนาชุมชนพื้นที่อำเภอเบตงอย่างยั่งยืน รวมถึงสร้างจิตสำนึกให้กับข้าราชการ สร้างความสามัคคี การสร้างฝายครั้งนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยแล้ง" นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย วัฒนธรรมจังหวัดยะลา กล่าวแก่เบนาร์นิวส์

"ดีใจที่ได้ฝาย ต่อไปชาวบ้านคงหมดห่วงปัญหาน้ำ ขอบคุณทุกฝ่ายที่นำยุทธศาสตร์ในหลวง ร.9 มาใช้กับพวกเรา ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้จริง" นายหามะ ดอเลาะ ชาวกรงปินัง จังหวัดยะลา กล่าว

ภูมิประเทศโดยทั่วไปของจังหวัดยะลาเป็นเทือกเขา ปกคลุมด้วยป่าดงดิบ และสวนยางพารา มีเทือกเขาที่สำคัญอยู่ 2 แห่ง คือ เทือกเขาสันกาลาคีรี เริ่มจากอำเภอเบตง เป็นแนวยาวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย และเทือกเขาปิโล ซึ่งเป็นเทือกเขาอยู่ภายในจังหวัดยะลา

มีแม่น้ำที่สำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำสายบุรี อันมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาสันกาลาคีรี ไหลผ่านบางอำเภอของจังหวัดยะลา และไหลลงสู่ทะเลที่จังหวัดปัตตานี

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง