ศิลปินและนักอนุรักษ์รณรงค์ให้สังคมตื่นตัว จับตาคดีล่าเสือดำ

นนทรัฐ ไผ่เจริญ
2018.03.19
กรุงเทพฯ
blackpanther1.jpg

โรงพยาบาลสัตว์ เพ็ทแอนด์อะควอติก ย่านรามอินทรา อุทิศกำแพงฝั่งหนึ่ง เพื่อให้ศิลปินกราฟฟิตี้ใช้แสดงงานศิลปะ ซึ่งมีเสือดำเป็นพระเอก วันที่ 17 มีนาคม 2561 (นนทรัฐ ไผ่เจริญ/เบนาร์นิวส์)

blackpanther2.jpg

นายเปรมชัย กรรณสูต (คนนั่ง) ประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ถูกจับในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเศวร เมื่อคืนวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 (ภาพโดยเจ้าหน้าที่ทุ่งใหญ่นเรศวร)

blackpanther3.jpg

ภาพเสือดำซึ่งสามารถบันทึกได้จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก เมื่อเดือนมีนาคม 2560 (เครดิตภาพ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช)

blackpanther4.jpg

กลุ่มทีชาลล่า จัดกิจกรรมบทบาทสมมุติยั่วล้อท่าทางของนายเปรมชัย ในวันที่ถูกควบคุมตัวจากการล่าสัตว์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า วันที่ 18 มีนาคม 2561 (นนทรัฐ ไผ่เจริญ/เบนาร์นิวส์)

blackpanther5.jpg

ผู้ร่วมรณรงค์ที่หอศิลป์ฯ ใส่เสื้อยืดซึ่งมีภาพของเสือดำ เพื่อจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการฆ่าสัตว์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า วันที่ 18 มีนาคม 2561 (นนทรัฐ ไผ่เจริญ/เบนาร์นิวส์)

blackpanther6.jpg

กลุ่มรณรงค์สกรีนเสื้อยืดใช้ภาพเสือดำเป็นสัญลักษณ์หลัก ในการเคลื่อนไหวกิจกรรม “เสือดำต้องไม่ตายฟรี” วันที่ 18 มีนาคม 2561 (นนทรัฐ ไผ่เจริญ/เบนาร์นิวส์)

blackpanther7.jpg

ผู้รณรงค์ในชุด 'ทีชาลล่า' (T'challa) ตัวละครหลักจากภาพยนตร์เรื่อง แบล็คแพนเธอร์ ที่หน้าหอศิลป์ฯ วันที่ 18 มีนาคม 2561 (นนทรัฐ ไผ่เจริญ/เบนาร์นิวส์)

blackpanther8.jpg

ประชาชนและนักอนุรักษ์ร่วมกันถือป้าย และอ่านแถลงการณ์รณรงค์กรณีการล่าสัตว์ของนายเปรมชัยที่หอศิลป์ เย็นวันอาทิตย์ที่ผ่านมา วันที่ 18 มีนาคม 2561 (นนทรัฐ ไผ่เจริญ/เบนาร์นิวส์)

blackpanther9.jpg

เดช อัสดง หนึ่งในศิลปินที่มาเล่นดนตรีในงานรณรงค์ร่วมกับกลุ่มทีชาลล่า ที่หอศิลป์ฯ โดยบรรเลงเพลงที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ วันที่ 18 มีนาคม 2561 (นนทรัฐ ไผ่เจริญ/เบนาร์นิวส์)

blackpanther10.jpg

กำแพงโรงพยาบาลสัตว์ เพ็ทแอนด์อะควอติก ย่านรามอิทรา ถูกพ่นเป็นภาพรณรงค์กรณีการล่าสัตว์ของนายเปรมชัย กรรณสูต และพวก วันที่ 17 มีนาคม 2561 (นนทรัฐ ไผ่เจริญ/เบนาร์นิวส์)

ประชาชน และนักอนุรักษ์ใช้กิจกรรมรณรงค์รวมตัวเคลื่อนไหว จัดกิจกรรมศิลปะ ตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ในหลายรูปแบบ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สังคมตื่นตัวและให้ความสนใจในคดีเสือดำ การลักลอบล่าสัตว์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยนายเปรมชัย กรรณสูต และพวกอีกสามคน และติดตามการทำงานของระบบยุติธรรมอย่างใกล้ชิด ในการดำเนินคดีทางกฎหมายในกรณีนี้เป็นพิเศษ โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา กลุ่มทีชาลล่า (ตั้งชื่อตามตัวละครหลักในภาพยนตร์เรื่อง แบล็คแพนเธอร์ซึ่งใช้เครื่องแต่งกายเลียนแบบเสือดำ) ซึ่งเป็นกลุ่มรณรงค์เฉพาะกิจได้มีการเล่นดนตรี และเสวนา ที่หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

นักอนุรักษ์ นักเคลื่อนไหว และประชาชนบางกลุ่ม ยังคงรณรงค์เรียกร้อง แม้เวลาผ่านมากว่าหนึ่งเดือนแล้ว ขณะที่บนกำแพงหลายแห่งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ถูกใช้เป็นพื้นที่สำหรับการทำกราฟฟิตี้ (ศิลปะการพ่นสี) ภาพเสือดำ และสัตวป่าคุ้มครองอื่นๆ เพื่อรณรงค์เรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง แม้ภาพที่ศิลปินพ่นเอาไว้บนกำแพงสาธารณะหลายแห่งจะถูกพ่นทับ หรือลบทำลาย แต่บนกำแพงส่วนบุคคลบางแห่ง เช่น กำแพงโรงพยาบาลสัตว์ เพ็ทแอนด์อะควอติก ในซอยลาดพร้าว 71 ย่านรามอินทรา เจ้าของได้อนุญาตให้มีการพ่นสีเพ้นท์ภาพบนกำแพง เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม และไม่ให้คนลืมเลือนกรณีการล่าสัตว์ป่า

และแม้ว่าล่าสุด นายเปรมชัยจะระบุผ่านสื่อมวลชนว่า “ผมไม่ได้ฆ่าเสือดำ” แต่หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า ชิ้นส่วนสัตว์ที่พบบริเวณเต็นท์ของนายเปรมชัยนั้น เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองจริง โดยเฉพาะซากเสือดำ ไก่ฟ้าหลังเทาที่ถูกชำแหละ และถูกนำมาประกอบอาหาร

จากการเปิดเผยของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชพบว่า ปัจจุบัน เสือดำ และเสือดาวเหลือประมาณ 100-130 ตัวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง ขณะที่องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ระบุว่า เสือดำอาจเหลืออยู่ทั่วโลกเพียงไม่ถึง 2,500 ตัว ขณะที่ไก่ฟ้าหลังเทา ถือเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เช่นกัน

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง