กลุ่มเยาวชนไทยใช้ความคิดสร้างสรรค์เรียกร้องปฏิรูปสถาบัน

บางคนทำกิจกรรมประท้วงด้วยตัวคนเดียว เพื่ออยากเห็นความเปลี่ยนแปลง
สุเบล ราย บันดารี และคุณวุฒิ บุญฤกษ์
2022.03.08
กรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่
กลุ่มเยาวชนไทยใช้ความคิดสร้างสรรค์เรียกร้องปฏิรูปสถาบัน ผู้โดยสารคนหนึ่งผูกริบบิ้นแดง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการสนับสนุนการรณรงค์ยกเลิกมาตรา 112 ระหว่างการประท้วงในกรุงเทพมหานคร วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565
ภาพโดย Orange Cat

นางสาว ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือตะวัน เยาวชนในวัย 20 ปี เป็นผู้นำริบบิ้นสองสีคือ แดง และน้ำเงิน มาให้ผู้โดยสารบนรถไฟฟ้าบีทีเอสในกรุงเทพมหานคร เลือกหยิบแทนการตอบคำถาม เมื่อเย็นวันที่ 26 กุมภาพันธ์

ถ้าคุณคิดว่ามาตรา 112 ควรถูกยกเลิก ให้ผูกริบบิ้นแดงที่ราวมือจับหรือที่นั่ง หากคุณคิดว่าไม่จำเป็นต้องยกเลิก ให้ผูกริบบิ้นสีน้ำเงินทานตะวันบอกผู้โดยสาร ขณะเดินแจกริบบิ้น

ทานตะวัน กล่าวกับเบนาร์นิวส์ว่า ผู้โดยสารมัดริบบิ้นแดงทั้งหมด 191 เส้น ในรถไฟฟ้าสองขบวนในวันนั้น ไม่มีใครขอริบบิ้นน้ำเงินเลยสักคน เมื่อตอนค่ำของวันนั้น ตำรวจได้จับกุมเธอไว้หลายชั่วโมงและปรับ 5,000 บาท ในข้อหาฝ่าฝืนเจ้าหน้าที่

มาตรา 112 ทำให้เราไม่กล้าแสดงความเห็นต่อสถาบัน หากไม่มีมาตรานี้แล้วเราจะสามารถถกเรื่องปัญหาของสถาบันได้ และอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบ้างทานตะวันบอก

220308-th-democracy-youth-protests-inside.jpeg

นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย ตะวัน ทานตะวัน แจกริบบิ้นสีแดงและสีน้ำเงินแก่ผู้สัญจรบนรถไฟฟ้า ในกรุงเทพฯ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 [ภาพโดย Orange Cat]

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า ในปัจจุบันมีประชาชน 173 คน เป็นเยาวชน 13 คน ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 หลังเข้าร่วมการประท้วงบนท้องถนนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2564

ในช่วงสองปีที่ผ่านมา เยาวชนไทยเริ่มออกมาพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ในที่สาธารณะ และเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ที่อยู่คู่ประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า 240 ปี ซึ่งในช่วงที่เป็นจุดสูงสุดของการประท้วง มีผู้เข้าร่วมหลายหมื่นคน แต่จำนวนก็ลดลงเรื่อย ๆ หลังจากผู้นำการประท้วงถูกจับกุมและถูกสั่งจำคุกก่อนที่จะมีการพิจารณาคดี และยังไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวเป็นเวลาหลายเดือน

อย่างไรก็ตาม ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เยาวชนอย่างทานตะวันเริ่มจัดการประท้วงในแบบของตัวเอง ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เช่น การทำโพลสาธารณะ การเล่นดนตรี หรือการใช้ศิลปะการแสดง ในขณะที่รัฐบาลพยายามอย่างหนักในการเพิ่มการจับกุม และทำให้เกรงกลัว

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมตะวัน ในขณะที่เธอกำลังถ่ายทอดสดไลฟ์ขบวนเสด็จบนเฟซบุ๊ก ผู้สนับสนุนเธอต่างพากันไปผูกริบบิ้นแดงที่ประตูทางเข้าสถานีตำรวจที่เธอถูกจับตัวไว้เป็นเวลาสองคืน

เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีตะวัน ในคดีหมิ่นสถาบันและยุยงปลุกปั่น ในเนื้อหาของคดีระบุว่า เธอพูดคำหยาบคายระหว่างการถ่ายทอดสดไลฟ์ นั่นก็คือประโยคที่ว่า “ใครสำคัญกว่ากันระหว่างประชาชนกับราชวงศ์

220308-th-youth-protest-inside2.jpg

ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือตะวัน หลังการสัมภาษณ์กับเบนาร์นิวส์ ในกรุงเทพมหานคร วันที่ 4 มีนาคม 2565 [สุเบล ราย บันดารี/เบนาร์นิวส์]

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน บันทึกไว้ว่ามีการดำเนินคดีทั้งหมด 3,491 คดี ซึ่งมีผู้ถูกดำเนินคดี 1,787 คน ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2564 ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้

นอกจากการแจกริบบิ้นแล้ว ทานตะวัน ยังได้จัดการประท้วงด้วยตัวเธอคนเดียวเป็นครั้งแรก ด้วยการทำ “สำรวจประชาชนในห้างสรรพสินค้าชื่อดังเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ นี้ โดยได้ไปสัมภาษณ์ผู้คนว่าเขาเคยได้รับความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จหรือไม่

การทำโพลโดยตรงสะท้อนให้เห็นสิ่งที่ประชาชนต้องการ นี่เป็นการประท้วงแบบหนึ่ง” ทานตะวันบอกเบนาร์นิวส์ว่า เธอได้รับไอเดียนี้มาจากตอนที่ตำรวจเข้าไปเยี่ยมพี่สาวของเธอ ก่อนที่จะมีการตั้งขบวนเสด็จ เพื่อเป็นการทำให้พี่สาวของเธอเกรงกลัว

โดยการสำรวจดังกล่าวในระยะเวลา 1 ชั่วโมง มีผู้คนเข้าร่วมกว่า 100 คน แต่เมื่อทานตะวันเดินทางไปยังพระราชวัง ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเพื่อที่จะยื่นผลสำรวจ ตำรวจได้รีบทำลายโพลนั้นเสีย

เราแค่ต้องการแสดงให้เห็นว่าขบวนเสด็จทำให้เกิดความลำบากต่อประชาชน ทานตะวันระบุ 

220308-th-youth-protest-inside.jpg

วิธญา “รามิล” คลังนิล ใช้ศิลปะการแสดงในการประท้วงหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2564 [ภาพจากเพจเฟซบุ๊ก Artn’t]

ศิลปะการแสดงต่อการเมือง

ด้านนายวิธญา คลังนิล หรือ รามิล นักศึกษาเอกปรัชญา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Artn't ได้ใช้ศิลปะการแสดงในการประท้วง ส่งผลให้เขาถูกดำเนินคดีทั้งสิ้นถึง 7 คดี

เราจะเห็นว่าการเมืองในประเทศเปลี่ยนแปลงเยอะ แต่คนในโลกศิลปะกลับนิ่งเฉย ทำตัวเงียบราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นรามิล กล่าวกับเบนาร์นิวส์

ในการแสดงศิลปะชิ้นหนึ่ง รามิลและเพื่อนใช้ธงที่มีแถบสีแดง-ขาว และแถบใสแทนสีน้ำเงินห่อหุ้มหุ่น แล้วให้ผู้ชมสามารถเข้าไปเขียนข้อความได้ ซึ่งตำรวจอ้างว่าบางข้อความละเมิดมาตรา 112 เนื่องจากผ้าที่ใช้ในงานแสดงนี้มีลักษณะคล้ายธงชาติ มีผ้าแถบสีแดงและสีขาว โดยไม่มีผ้าสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ รามิลและเพื่อนจึงถูกกล่าวหาว่าเป็นแสดงออกถึงการไม่ต้องการให้มีสถาบันกษัติย์ในประเทศไทย

ในอีกงานหนึ่ง เขาราดตัวเองด้วยสีแดง และปีนขึ้นไปบนป้ายมหาวิทยาลัยซึ่งมีรูปของพระมหากษัตริย์อยู่ข้างหน้า ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวหาว่าเป็นการกระทำที่ไม่เคารพต่อสถาบัน

นอกจากนี้ ก่อนเข้าไปรับฟังการแจ้งข้อกล่าวหาที่สถานีตำรวจเชียงใหม่ รามิลได้แต่งตังเป็น “ลูฟี่ตัวการ์ตูนของญี่ปุ่นเพื่อทำการแสดงสั้น ๆ ที่เรียกว่า “Gear Second” ซึ่งเป็นการโชว์ที่ลูฟี่ทำในการ์ตูนเรื่องนี้

วิธีการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยการใช้ศิลปะ มันก็ช่วยเปิดพื้นที่ให้คนในหลากหลายอาชีพที่อาจจะไม่ได้สนใจ การเคลื่อนไหวของเยาวชนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยจะเป็นไปในทิศทางไหน ยังไม่เห็นภาพชัดเจนนัก แต่มั่นใจว่าทุก ๆ ภาคส่วนของสังคมมันต้องเดินไปพร้อม ๆ กัน ไม่ใช่แค่งานเคลื่อนไหวทางการเมืองเท่านั้นที่จะรุดหน้าไปรามิล ระบุ

 การแสดงออกของคนรุ่นใหม่

“เยาวชนไทยรุ่นใหม่ร่วมเรียกร้องสิทธิมนุษยชน เสรีภาพ และความเท่าเทียม” อานนท์ นำภา แกนนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากที่เขาได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ จากการจำคุกเป็นเวลานานกว่า 200 วัน ในคดีหมิ่นสถาบัน

ขณะที่ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนากุล หรือรุ้ง ผู้ถูกดำเนินคดีหมิ่นสถาบันกษัตริย์ถึง 10 คดี ได้กล่าวในสัปดาห์นี้ว่า ประเด็นการปฏิรูปสถาบันกำลังเดินไปข้างหน้าด้วยตัวมันเอง เพราะกลายเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน

นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวเบนาร์นิวส์พบว่า ผู้ชมภาพยนตร์มากกว่าครึ่งไม่ลุกขึ้นยืนระหว่างเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์เขตกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์แปลกใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ แม้ว่าการนั่งระหว่างเพลงสรรเสริญจะไม่ผิดกฎหมายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 การกระทำดังกล่าวยังถูกมองว่าเป็นการไม่ให้ความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ด้าน ดร. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวกับเบนาร์นิวส์ว่า ที่ผ่านมาแม้จะไม่มีการประท้วงในระดับใหญ่ เยาวชนยังดำเนินการประท้วงในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อแสดงการขัดขืนเชิงสัญลักษณ์ในระดับย่อย การแสดงละครในที่สาธารณะ การวิพากษ์วิจารณ์การเปลี่ยนแปลงของการเมืองในสัมมนาและในงานอื่น ๆ

เพื่อเป็นการยืนยันว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจในประเทศ ผู้ประท้วงเยาวชนกำลังตั้งกฎเกณฑ์ใหม่ ดิฉันคิดว่ากลยุทธ์การเคลื่อนไหวได้เปลี่ยนไปเพื่อรับมือกับการควบคุมจากรัฐ เยาวชนกำลังใช้ความสร้างสรรค์มากขึ้น ทำให้จิตสำนึกของผู้คน รวมถึงภูมิศาสตร์ทางการเมืองนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วดร. เบญจรัตน์ ระบุ

นนทรัฐ ไผ่เจริญ ในกรุงเทพฯ ร่วมรายงาน

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง