คืนชีวิตวัวชนใต้ หลังโควิด-19

ราคาวัวชนมูลค่าหลายแสนบาท เหลือเพียงไม่กี่หมื่นห้วงโควิด
วัจนพล ศรีชุมพวง
2023.04.17
ตรัง
2 bull fight.jpg

เมื่อถึงวันแข่ง เจ้าของวัวจะพาวัวชนเข้าสู่สังเวียน พร้อมกับส่งเสียงกระตุ้นให้วัวตื่นตัวตลอดเวลา วันที่ 8 เมษายน 2566 (วัจนพล ศรีชุมพวง/เบนาร์นิวส์)

5 bull fight.jpg

ตามกติกา วัวที่เป็นฝ่ายวิ่งหนี จะนับว่าเป็นฝ่ายแพ้ สนามแข่งวัว จังหวัดตรัง วันที่ 8 เมษายน 2566 (วัจนพล ศรีชุมพวง/เบนาร์นิวส์)

9 bull fight.jpg

หลังเสร็จสิ้นการแข่งขัน วัวชนที่เดินออกจากสนามจะเต็มไปด้วยบาดแผล อันเป็นร่องรอยของการต่อสู้ จังหวัดตรัง วันที่ 8 เมษายน 2566 (วัจนพล ศรีชุมพวง/เบนาร์นิวส์)

14 bull fight.jpg

วัวชนมักถูกพามาพักยังสนามที่จะใช้แข่งขันล่วงหน้า 20 วัน เพื่อให้คุ้นเคยกับสนาม โดยเสียค่าเช่าพื้นที่ครั้งละประมาณ 3-5 พันบาท จังหวัดตรัง วันที่ 6 เมษายน 2566 (วัจนพล ศรีชุมพวง/เบนาร์นิวส์)

15 bull fight.jpg

เจ้าของวัวชนอาบน้ำให้วัว วันละ 3 เวลา เช้า เที่ยง และเย็น เพื่อคลายร้อน ชะล้างสิ่งสกปรก และป้องกันการติดเชื้อ จังหวัดตรัง วันที่ 6 เมษายน 2566 (วัจนพล ศรีชุมพวง/เบนาร์นิวส์)

16 bull fight.jpg

วัวชนขณะเจ้าของจับอาบน้ำ เพื่อคลายร้อน ชะล้างสิ่งสกปรก และป้องกันการติดเชื้อ จังหวัดตรัง วันที่ 6 เมษายน 2566 (วัจนพล ศรีชุมพวง/เบนาร์นิวส์)

17 bull fight.jpg

เจ้าของวัวเอาวัวไปลงปลักโคลน เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ หลังจากนั้นจึงต้องอาบน้ำให้วัว วันที่ 6 เมษายน 2566 (วัจนพล ศรีชุมพวง/เบนาร์นิวส์)

กีฬาวัวชน เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในจังหวัดภาคใต้ นอกจากจะถือเป็นการละเล่นประจำถิ่นแล้ว ยังเป็นธุรกิจที่กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่เป็นอย่างดี

หลังจากถูกสั่งห้ามแข่งขันมาเป็นเวลาร่วม 3 ปี ล่าสุดในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศอนุญาตให้สนามแข่งวัวชนถูกกฎหมายกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง การละเล่นประจำถิ่นของคนใต้ จึงกลับมามีชีวิตอีกครั้ง

ในงานวิจัย “การเมืองของการพนันวัวชนภาคใต้” โดยรงค์ บุญสวยขวัญ ระบุว่า ภาคใต้มีสนามแข่งขันวัวชนที่ถูกกฎหมาย 28 แห่ง ในแต่ละปีมีวัวเข้าแข่งขันเกือบ 1 หมื่นตัว มีผู้เข้าชมการแข่งขันและเล่นพนันไม่ต่ำกว่า 2 แสนรายต่อปี และสนามแข่งแต่ละแห่งมีเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 35 ล้านบาทต่อวัน

โดยในเดือนมีนาคม 2560 ณ สนามกีฬาชนโคนานาชาติ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เคยถูกบันทึกสถิติมูลค่าสูงสุดของเงินเดิมพันวัวหนึ่งคู่ คือ 24 ล้านบาท

แต่เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 นำมาซึ่งการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรคอย่างเข้มข้นในเดือนมีนาคม 2563 ทำให้สนามกีฬา รวมถึงสถานที่เล่นพนันถูกสั่งปิด ธุรกิจวัวชนซึ่งมีการพนันเองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะไม่สามารถแข่งขันได้ 

ในปี 2564 เจ้าของวัวชนรายหนึ่งใน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา เผยว่า จำใจต้องขายวัวชนที่เคยมีมูลค่าหลายแสนบาท ในราคาไม่กี่หมื่นบาท เพื่อนำเงินมาจุนเจือครอบครัว

ก่อนโควิด เอาวัวไปแข่งก็หาเงินได้วันละ 2-3 พันบาทสบาย ๆ แต่พอมีโควิด กิจกรรมที่มีการรวมตัวทุกอย่างถูกห้าม การแข่งวัวชนแบบเป็นทางการจึงไม่มีเกิดขึ้นเลย มีเพียงแค่ คนเลี้ยงวัวเอามาชนกันเอง ถือว่า วัวชนได้รับผลกระทบมาก แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่ได้กลับมาขยายพันธุ์วัว” เพียร ช่วยหวัง เจ้าของวัวชนจาก ต.นาบินหลา อ.เมือง จ.ตรัง กล่าว

เพียร ระบุว่า ช่วงโควิด-19 ระบาด เขาหันมาเพาะพันธุ์วัวชนขาย โดยวัวชนจะได้ราคาดีกว่าวัวเนื้อ เพราะสามารถขายได้ตัวละเกือบ 8 หมื่นบาท ขณะที่วัวเนื้อขายได้เพียง 3.5 หมื่นบาท 

การเลี้ยงวัวชน เจ้าของวัวชนต้องมีพื้นฐานที่ดีมากพอ เพื่อที่จะสามารถดูแลสัตว์ชนิดนี้ให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งต้องตื่นเช้ามืดเพื่อพาวัวชนไปเดินฝึกความอดทน การให้ลงเล่นปลักดินโคลนเพื่อฝึกกล้ามเนื้อคอให้ขวิดได้อย่างแข็งแรง วัวกินหญ้าสามมื้อ อาบน้ำสามเวลาเป็นประจำทุกวัน ทำจนกระทั่งวัวเกิดความรู้สึกผูกพันธุ์กับเจ้าของหรือคนเลี้ยง

ดีใจที่ได้กลับมาแข่งชนวัวอีกครั้ง ก็น่าจะช่วยให้กลับมามีรายได้เหมือนก่อนโควิด เราก็หวังว่าจะไม่ถูกห้ามแข่งวัวอีก” เพียร กล่าวเพิ่มเติม

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง