โฉมหน้านักต่อสู้กับนโยบายป่าทะมึน

ยศธร ไตรยศ
2022.12.13
เบนาร์นิวส์
1 land-right-activists-black-forest.jpg

พิณนภา พฤกษาพรรณ อดีตภรรยาของบิลลี่ ที่ปัจจุบันยังคงต่อสู้เพื่อเรียกร้องคดีที่สามี ‘บิลลี่’ หายสาบสูญ จังหวัดเพชรบุรี ภาพเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2561 (ยศธร ไตรยศ/เบนาร์นิวส์)

2 land-right-activists-black-forest.jpg

พงษ์ศักดิ์ ต้นน้ำเพชร แกนนำชาวบ้านในการต่อสู้เรียกร้องเพื่อสิทธิในที่ทำกินของชาวบ้านบางกลอย จังหวัดเพชรบุรี วันที่ 4 กันยายน 2565 (ยศธร ไตรยศ/เบนาร์นิวส์)

3 land-right-activists-black-forest.jpg

จันทร ต้นน้ำเพชร ต้องออกจากโรงเรียนมาต่อสู้คดี เนื่องจากครอบครัวของเธอถูกเจ้าหน้าที่รัฐแจ้งข้อหาบุกรุกผืนป่า จังหวัดเพชรบุรี วันที่ 4 กันยายน 2565 (ยศธร ไตรยศ/เบนาร์นิวส์)

4 land-right-activists-black-forest.jpg

ชาวบ้านบางกลอยที่นับถือศาสนาคริสต์ มักมีกิจกรรมรวมตัวกันทุกเช้าวันอาทิตย์ที่โบสถ์ ที่นี่ยังเป็นสถานที่สำหรับสงเคราะห์เด็กด้อยโอกาสของบ้านบางกลอย และพื้นที่ใกล้เคียง จังหวัดเพชรบุรี วันที่ 4 กันยายน 2565 (ยศธร ไตรยศ/เบนาร์นิวส์)

5 land-right-activists-black-forest.jpg

ชาวบ้านในพื้นที่ทำกินที่รัฐจัดสรรให้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับจำนวนประชากร และความต้องการของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านจำนวนมากต้องการย้ายจากบางกลอยกลับไปอยู่ที่บ้านใจแผ่นดิน จังหวัดเพชรบุรี วันที่ 4 กันยายน 2565 (ยศธร ไตรยศ/เบนาร์นิวส์)

6 land-right-activists-black-forest.jpg

นิตยา แกนนำชาวบ้านในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิในที่ทำกินแห่งบ้านซับหวาย จังหวัดชัยภูมิ วันที่ 19 ตุลาคม 2565 (ยศธร ไตรยศ/เบนาร์นิวส์)

7 land-right-activists-black-forest.jpg

แนวเขตของพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรทอง ที่อยู่ติดพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน ปัจจุบันยังคงมีปัญหาการทับซ้อนระหว่างพื้นที่อุทยานฯ และพื้นที่ของชาวบ้าน จังหวัดชัยภูมิ วันที่ 19 ตุลาคม 2565 (ยศธร ไตรยศ/เบนาร์นิวส์)

8 land-right-activists-black-forest.jpg

สมพิตร แท่นนอก ขณะยืนในบ้านที่มีภาพถ่ายของภรรยาที่ล่วงลับไปแล้ว แขวนอยู่บนผนังบ้าน บ้านซับหวาย อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ วันที่ 19 ตุลาคม 2565 (ยศธร ไตรยศ/เบนาร์นิวส์)

9 land-right-activists-black-forest.jpg

สุภาพ คำแหล้ แห่งบ้านโคกยาว อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เสียชีวิตลงไม่นาน หลังจากกอกจากเรือนจำ ในฐานะผู้ต้องหาคดีบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน ภาพเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2560 (ยศธร ไตรยศ/เบนาร์นิวส์)

10 land-right-activists-black-forest.jpg

พื้นที่ทำไร่ของชาวบ้านที่อยู่ติดกับเขตป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ที่เป็นพื้นที่พิพาทกรณีของ เด่น คำแหล้ จังหวัดชัยภูมิ ภาพเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2560 (ยศธร ไตรยศ/เบนาร์นิวส์)

ชาวบ้านอย่างน้อย 46,600 คนทั่วประเทศ ถูกกรมทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมแจ้งความดำเนินคดี หลังจากที่คณะรักษาความสบแห่งชาติ หรือ คสช. ประกาศการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทรัพยากรป่าไม้ โดยบางรายต้องสูญเสียที่ดินมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษหรือแม้แต่ชีวิต เพราะไม่ยอมรับการถูกขับไล่ชาวบ้านออกจากป่าสงวน

พื้นที่ในเหตุพิพาทนั้น เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่อาศัยอยู่และทำมาหากินมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ ได้กลับกลายเป็นที่ทับซ้อน หลังจากมีการประกาศเขตผืนป่าอนุรักษ์ตามกฎหมายในรูปแบบต่าง ๆ

บ้านบางกลอยล่าง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เพชรบุรี เป็นหนึ่งในพื้นที่พิพาทระหว่างชาวกะเหรี่ยงและเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนเป็นที่มาของคดีการอุ้มฆ่า “บิลลี่” ที่เรียกร้องเพื่อสิทธิในการอยู่ร่วมกับผืนป่าตามวิถีดั้งเดิมของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เมื่อเดือนเมษายน ปี 2557

ล่าสุด “แบงค์” พงษ์ศักดิ์ ต้นน้ำเพชร ชายหนุ่มจากบ้านบางกลอย อดีตเด็กหนุ่มขี้เมาได้กลายมาเป็นเสมือนแกนนำและตัวกลางระหว่างชาวบ้าน และคนภายนอกที่ให้ความสนใจในประเด็นการต่อสู้ของพวกเขา

ผมไม่ทำก็ไม่รู้จะให้ใครทำ ไม่ได้พร้อมแต่ก็ลองทำ ก็เรียนรู้มาเรื่อย ๆ” แบงค์กล่าว แบงค์เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move) ในประเด็นสิทธิที่อยู่อาศัยของชาติพันธ์ุต่าง ๆ จนตัวเขาเองถูกแจ้งข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่รวม 29 คน

อดีตนักเรียนมัธยมวัย 18 ปี อย่าง “จัน” จันทร ต้นน้ำเพชร ก็ถูกดำเนินคดีร่วมกันฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพียงเพราะไปร่วมชุมนุมเรียกร้องเพื่อมารดาที่เป็นหนึ่งใน 29 คน ที่ถูกดำเนินคดีเดียวกันกับแบงค์ จนทำให้จันต้องออกจากโรงเรียน

ตั้งแต่โดนคดีมันมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากในเรื่องของการเดินทางและที่พักต่าง ๆ ที่ถึงจะมีคนช่วยเหลืออยู่บ้างแต่ก็ไม่ครอบคลุมทั้งหมด หนูต้องเอาเงินเก็บออกมาใช้จนตอนนี้ไม่มีเหลือแล้ว เลยตัดสินใจว่าลาออกจากโรงเรียนดีกว่า” จันกล่าว

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ กรณีของพ่อสมพิตร แท่นนอก แห่งบ้านซับหวาย อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ ที่ถูกดำเนินคดีเมื่อปี 2562 และศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 1 ปี 10 เดือน เมื่อเข้าสู่เรือนจำได้ราวสองเดือน ภรรยาของพ่อสมพิตร ซึ่งป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายได้เสียชีวิตลง ทั้งสองต้องจากกันโดยไม่ได้เอ่ยคำร่ำลา

“ตอนรู้ว่าเขาตายผมเสียใจมาก ใจสลาย อยู่ด้วยกันมาเกินสามสิบปี แทบไม่เคยทะเลาะกัน ไม่เคยพูดจาหยาบคายเลยสักครั้ง” พ่อสมพิตรกล่าว

ยังมีเรื่องราวของพ่อเด่น และแม่สุภาพ คำแหล้ สองสามีภรรยา แห่งบ้านโคกยาว อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งพ่อเด่นออกไปหาของในป่า และหายตัวไป เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2559 ต่อมาหนึ่งปีให้หลัง มีคนพบศพในป่าไม่ไกลจากบ้าน

พ่อเด่น เป็นคนที่ไม่ยอมออกจากพื้นที่ป่าภูซำผักหนาม และพยายามผลักดันให้เกิดโฉนดชุมชน ทำให้เกิดความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าภูซำผักหนาม ส่วนแม่สุภาพเองก็ถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 6 เดือน และเสียชีวิตลงหลังจากพ้นโทษเมื่อปีที่แล้ว

นอกจากนั้น นิตยา ม่วงกลาง และสมพิตร แท่นนอก ชาวบ้านซับหวาย อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ ก็ต้องตกเป็นผู้ต้องหาในคดีบุกรุกพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติไทรทอง ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่อีก 14 คดี ศาลฎีกาตัดสินลงโทษจำคุกชาวบ้านโดยไม่รอลงอาญา

กลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ P-move ยังคงยืนหยัดต่อสู้กับรัฐบาลด้วยการชุมนุม รวมทั้งในกรุงเทพฯ ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปก เมื่อเดือนพฤศจิกายน ด้วยความหวังว่ารัฐบาลจะฟังเสียงเรียกร้องของพวกเขา

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง