วิถีประมงพื้นบ้านในวันที่ใกล้สูญหาย

วัจนพล ศรีชุมพวง
2023.06.02
กรุงเทพฯ
1-fisheries.jpg

แม่บ้านชาวประมง บ้านปากบารา จังหวัดสตูล แกะหอยตลับเพื่อนำไปต้มและบรรจุลงขวดขายต่อไป วันที่ 11 มีนาคม 2566 (วัจนพล ศรีชุมพวง/เบนาร์นิวส์)

2-fisheries.jpg

ชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูล โชว์ปลาโรนันจุดขาว ที่ตกได้จากบริเวณพื้นที่เกาะตะรุเตา วันที่ 11 มีนาคม 2566 (วัจนพล ศรีชุมพวง/เบนาร์นิวส์)

5-fisheries.jpg

ชาวทะเลในจังหวัดภูเก็ต กลับจากหาปลาบริเวณชายฝั่ง พร้อมตะกร้าใส่ปลาที่ว่างเปล่า วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 (วัจนพล ศรีชุมพวง/เบนาร์นิวส์)

11-fisheries.jpg

ผู้ประกอบการร้านอาหารมารอซื้อปลาจากชาวประมงพื้นบ้าน ที่บริเวณท่าเรือแห่งหนึ่ง ในจังหวัดกระบี่ วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 (วัจนพล ศรีชุมพวง/เบนาร์นิวส์)

13-fisheries.jpg

ชาวประมงในจังหวัดสตูล ขุดหอยตามชายหาดเพื่อยังชีพเป็นประจำทุกวัน วันที่ 11 มีนาคม 2566 (วัจนพล ศรีชุมพวง/เบนาร์นิวส์)

14-fisheries.jpg

ชาวบ้านในจังหวัดสตูล นำหอยเชลที่จับได้มาปรุงอาหารให้ครอบครัว วันที่ 11 มีนาคม 2566 (วัจนพล ศรีชุมพวง/เบนาร์นิวส์)

15-fisheries.jpg

ชาวประมงในจังหวัดสตูลรายหนึ่ง เปลี่ยนมาทำกระชังเลี้ยงปลาแทนการออกเรือหาปลา เพราะเห็นว่าคุ้มค่ากว่าการออกเรือหาปลา วันที่ 12 มีนาคม 2566 (วัจนพล ศรีชุมพวง/เบนาร์นิวส์)

18-fisheries.jpg

ชาวประมงพื้นบ้านในจังหวัดสตูล เดินทางออกหาปลาหลังพระอาทิตย์ตก วันที่ 11 มีนาคม 2566 (วัจนพล ศรีชุมพวง/เบนาร์นิวส์)

24-fisheries.jpg

ชาวประมงในจังหวัดกระบี่ ใช้แหในการจับปลาหลังเขียว หรือปลาซาร์ดีน ที่พบว่าปลามีขนาดเล็กลงอย่างมาก วันที่ 14 พฤษภาคม 2566 (วัจนพล ศรีชุมพวง/เบนาร์นิวส์)

28-fisheries.jpg

ชาวประมงพื้นบ้านขุดหาหอยจากชายหาดแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสตูล วันที่ 11 มีนาคม 2566 (วัจนพล ศรีชุมพวง/เบนาร์นิวส์)

ชาวประมงพื้นบ้านในกว่ายี่สิบจังหวัดชายทะลของไทย ยังประสบปัญหาการหาปลาได้ไม่เพียงพอสำหรับเลี้ยงครอบครัวมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้บางครอบครัวอยากจะบอกให้ลูกหลานเปลี่ยนอาชีพดั้งเดิมนี้ไปทำอย่างอื่นแทน

ณรงค์ ม่วงทองดำ ชาวประมงพื้นบ้านในจังหวัดชุมพร กล่าวว่า สัตว์น้ำเริ่มลดลงจนสังเกตได้ มาตั้งแต่ ปี 2558

“ผมไม่พบปลาทูเลยจากที่เมื่อสมัยวัยรุ่นผมจับได้ทีละหลายกิโล ปลาบางชนิดหายไปจากอ่าวชุมพรไปแล้วเสียด้วยซ้ำ ไม่รู้จะทำยังไงเหมือนกัน อยากให้ทะเลกลับมาเหมือนเดิม” ณรงค์ ระบายความรู้สึกกับเบนาร์นิวส์

“แต่ถ้าให้บอกลูกหลาน ผมไม่อยากให้ลูกหลานทำประมงเหมือนผมแล้ว ทุกอย่างมันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว”

ทั้งนี้ ผศ. ดร. ปริชาติ เวชยนต์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้ข้อมูลว่า สิ่งที่น่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเล ก็คือ เมื่อน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากภาวะโลกร้อน ทำให้สัตว์น้ำต้องย้ายไปยังจุดที่น้ำทะเลเย็นกว่าหรือย้ายไปยังบริเวณที่ลึกขึ้นเพื่อให้มีชีวิตรอด

แต่ไม่เพียงเท่านั้น เรือประมงขนาดใหญ่เชิงพาณิชย์ที่เข้ามาทำการประมงชายฝั่งโดยไม่ถูกกฎหมาย ยังมีส่วนสำคัญที่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำที่อยู่ในวัยตัวอ่อนตามป่าชายเลนหรือริมฝั่งอีกด้วย

“เราชาวประมงพื้นบ้านต้องช่วยเหลือตัวเอง รัฐไม่เคยเหลียวแลเรา ไม่เคยให้ความสำคัญ แต่เราชาวประมงพื้นบ้านไม่ยอมแพ้ที่จะต่อสู้กับเรือประมงขนาดใหญ่” มูฮัมหมัด สุกรี ผู้นำชุมชนบ้านตันหยังเปาว์ ปัตตานี กล่าว

ประเทศไทย มีจังหวัดติดทะเล 22 จังหวัด มีความยาวชายฝั่งทั้งสิ้น 2,614 กิโลเมตร ทั้งด้านทะเลฝั่งอ่าวไทย และด้านทะเลฝั่งอันดามัน ประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยบริเวณฝั่งทะเล ประกอบอาชีพการทำประมง มีชุมชนชาวประมงทั่วประเทศกว่า 4,000 ชุมชน มีครัวเรือนที่ทำประมงอย่างเดียว 57,000 ครัวเรือน หรือ ประมาณ 295,000 คน และมีเรือประมงทั้งแบบพื้นบ้านและแบบพาณิชย์กว่า 60,000 ลำ ในปัจจุบัน

ชาวประมงพื้นบ้าน มีวิธีการหาสัตว์น้ำที่แตกต่างกันไปตามภูมิวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ แต่ที่เหมือนกันคือมีการจับสัตว์น้ำด้วยเครี่องมืออย่างง่าย ๆ เช่น อวนขนาดเล็ก, ซัง, เบ็ด, แห, ยอ, ฉมวก, ลอบ, ไซ ไปจนกระทั่งใช้มือและเครื่องมือในการขุดลงไปเพื่อจับสัตว์จำพวกหอยหรือปูที่ฝังตัวในพื้น โดยส่วนใหญ่เป็นการจับสัตว์ขายสร้างรายได้ เพื่อยังชีพ และเพื่อหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องให้กับคนในครอบครัวเท่านั้น

ด้านนายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย กล่าวว่า การทำประมงในระดับอุตสาหกรรมส่งผลเสียอย่างมาก เพราะสัตว์น้ำในทะเลถูกนำมาใช้ตั้งแต่วัยอ่อนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ หลายแสนตันต่อปี เพื่อป้อนเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่ไร้ขีดจำกัด เช่น โรงงานปลาป่นหรืออาหารสัตว์ ไปจนถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคที่ประชากรขยายตัวมากขึ้น ไม่สัมพันธ์กับการใช้ระยะเวลาในการเติบโตของปลาทะเลและสัตว์น้ำ

นอกจากนั้น ในปัจจุบัน ยังมีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ย่ำแย่ เช่น การปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเลโดยเฉพาะพื้นที่ป่าชายเลน การบุกรุกและตัดทำลายป่าชายเลนซึ่งเป็นที่อนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เพื่อนำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่น

ส่วนกรมประมงเอง ได้ขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 เพื่อช่วยเหลือชุมชนประมงในการจัดการการฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรสัตว์น้ำ แต่ในความรู้สึกของชาวประมง มันยังไม่เป็นผลจริงจัง

“พวกเรารวมตัวกันฟื้นฟูท้องทะเล เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำและเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้เรือประมงที่ใช้เครื่องมือทำลายล้างที่ลักลอบเข้ามาจับปลาในเขต 3,000 เมตร ของพื้นที่การประมงพื้นบ้าน” มูฮัมหมัด สุกรี ผู้นำชุมชนบ้านตันหยังเปาว์กล่าว

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง