ประเทศในเอเชียตบเท้าเข้าร่วมประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26

จับตาความเคลื่อนไหวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกของนานาประเทศ
สุเบล ราย บันดารี
2021.10.28
กาฐมาณฑุ
ประเทศในเอเชียตบเท้าเข้าร่วมประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 เด็กยืนจับบอลลูนลายลูกโลกขนาดใหญ่ ที่จัดเตรียมการก่อนเริ่มการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ครั้งที่ 21 ประจำปี 2558 หรือที่เรียกว่าการประชุมสุดยอด COP21 ในกรุงโรม อิตาลี ภาพเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2558
รอยเตอร์

ปรับปรุงข้อมูล เวลา 03:30 p.m. ET 2021-10-29

ผู้นำนานาประเทศจากภูมิภาคเอเชีย กำลังมุ่งหน้าไปประเทศสกอตแลนด์ เพื่อเข้าร่วมการประชุม COP26 ซึ่งเป็นการประชุมสุดยอดระดับโลกด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญที่สุด นับตั้งแต่ข้อตกลงปารีส ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2558 โดยจะมีขึ้นในสุดสัปดาห์นี้ หลังจากถูกเลื่อนมาจากปีที่แล้ว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่อยู่แนวหน้าของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ซึ่งถูกทำลายโดยน้ำท่วม พายุคลื่น และเหตุการณ์สภาพอากาศเลวร้าย เช่น ความแห้งแล้ง และอุณหภูมิสุดขั้ว โดยผู้นำของบังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ได้เตรียมเข้าร่วมการประชุมสุดยอด

ภายใต้ข้อตกลงปารีส กว่า 190 ประเทศที่ร่วมลงนาม ตกลงที่จะร่วมกันรักษาภาวะโลกร้อนให้ "ต่ำกว่า" 2 องศาเซลเซียส (3.6 องศาฟาเรนไฮต์) แม้ว่ามีการพยายามปรับลดลงให้เหลือ 1.5 องศาเซลเซียสในภายหลัง ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่นักวิทยาศาสตร์บางส่วนเชื่อว่า จะช่วยหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้

"หากอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.5 องศา คนกว่า 700 ล้านคน จะได้รับความเสี่ยงต่อการเผชิญคลื่นความร้อนที่รุนแรง ถ้าเพิ่มขึ้น 2 องศา คนกว่า 2 พันล้านคนจะมีความเสี่ยง" อโล็ค ชาร์มา ผู้นำการประชุม COP26 กล่าวที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ที่ผ่านมา

นี่คือเหตุผลที่ประเทศด่านหน้าต้องต่อสู้อย่างหนัก สำหรับพวกเขานั้นคำประกาศ หรือสโลแกน ที่ว่า 1.5 องศาเพื่อเอาชีวิตรอดไม่ใช่เรื่องตลก แต่นี่คือความเป็นความตายอโล็ค ระบุ

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และบังกลาเทศ อยู่ในสิบประเทศที่ประสบปัญหาสภาพอากาศรุนแรง ในห้วงสองศตวรรษที่ผ่านมา ตามการวิเคราะห์ขององค์กรเยอรมันวอทช์ ซึ่งเป็นองค์กรจากประเทศเยอรมนี ที่สนใจเรื่องการค้าอาหาร นโยบายการเกษตรและสิ่งแวดล้อม 

แน่นอนว่าผู้นำของประเทศไทย บังกลาเทศ และอินโดนีเซีย จะเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ในเมืองกลาสโกว์ด้วย

อีกทั้งภายใต้ข้อตกลงปารีส เหล่าประเทศที่ร่ำรวยตกลงที่จะมอบเงิน 100 พันล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 3.32 ล้านล้านบาท) ต่อปี ให้แก่ประเทศที่ยากจนกว่า เพื่อสนับสนุนการปรับตัวและการดำเนินการเพื่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเริ่มในปี 2563 ซึ่งเป็นคำมั่นสัญญาที่ยังไม่บรรลุผล

ประเทศที่ลงนามในข้อตกลง ยังให้คำมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ ภายในปี 2593 นั่นหมายถึงการจำกัดการปล่อยมลพิษจากกิจกรรมของมนุษย์ให้อยู่ในระดับที่ต้นไม้ ดิน และมหาสมุทรสามารถดูดซับได้

ชาร์มากล่าวว่า เหล่าประเทศที่มีสัดส่วนรวมในเศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 80 ได้ให้คำมั่นพร้อมมุ่งเป้าที่จะลดให้เป็นศูนย์สุทธิ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นพูดคุยหลักที่การประชุม COP26

211028-TH-cop26-bangladesh.jpeg

ชายคนหนึ่งขณะเดินบนผืนดิน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีบ้านของเขาตั้งอยู่ ในโบลา พิ้นที่เกาะในบังกลาเทศ ตั้งอยู่บนแม่น้ำเมกห์นา ที่ไหลลงสู่อ่าวเบงกอล 17 พ.ย. 2558 (เอพี)

ด้านความเคลื่อนไหวในประเทศไทย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กล่าวเมื่ออาทิตย์ก่อนว่า ประเทศไทยจะผลักดันให้เดินกลยุทธ์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะยาว และจะทำให้เป็นศูนย์ ภายในปี 2608 หรือในอีก 44 ปี

นอกจากนี้รัฐบาลยังวางแผนที่จะเพิ่มยานพาหนะที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ให้เป็นหนึ่งในสามของรถทั้งหมดในปี 2573 และให้ครึ่งหนึ่งของแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สร้างใหม่ใช้พลังงานหมุนเวียนนายวราวุธ ระบุ 

นายโดมินิก ภูวสวัสดิ์ จักรพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ระบุในเว็บไซต์ไทยอินไควเรอร์ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีแผนมุ่งเป้าเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีก 20 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2573 โดยเทียบจากระดับของปี 2548

ภาคอุตสาหกรรมและการคมนาคม เป็นปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อเรื่องนี้ หากสามารถลดส่วนนี้ได้ จะเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกถึง 74 เปอร์เซ็นต์ของเป้าหมายที่วางไว้ ขณะที่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอยู่ที่การผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะถูกบังคับให้ลดลงอีก 20 เปอร์เซ็นต์นายโดมินิก ระบุ

ทั้งนี้ องค์กรเยอรมันวอทช์ ได้จัดประเทศไทยอยู่ในอันดับที่เก้า ในดัชนีความเสี่ยงด้านภูมิอากาศโลก (Global Climate Risk Index-CRI) 

ด้านนายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการ กรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวกับเบนาร์นิวส์ว่า ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายหลายอย่าง เพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่นโยบายดังกล่าวนั้นกลับล้มเหลวในการรักษาความเป็นธรรมทางภูมิอากาศ

นโยบายทั้งหมดเหล่านี้ หากดำเนินการโดยไม่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน จะทำให้ความขัดแย้งทางสังคม ความยากจน และโรคระบาดรุนแรงขึ้นในอนาคต

เจสัน กูเตอเรซ ในกรุงมะนิลา, คุณวุฒิ บุญฤกษ์ ในเชียงใหม่, อาหมัด ปาโทนี ในจาการ์ตา และคัมราน รีซา เชาดูรี ในธากา ร่วมรายงาน

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง