ทหารไทยและผู้ก่อความไม่สงบ ต้องยอมรับกฎการปะทะร่วมกัน

บทวิเคราะห์โดย ดอน ปาทาน
2018.02.26
ยะลา
180226-TH-pathan-620.jpg ชาวบ้านในตลาดพิมลชัยยืนมองจุดที่ถูกระเบิด ที่มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ในจังหวัดยะลา วันที่ 22 มกราคม 2561
เอพี

เหตุการณ์ในห้วงเวลาไม่นานมานี้ ที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ดักปล้นรถทัวร์โดยสารสองชั้น และเผาวอดทั้งคัน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังจากปล่อยผู้โดยสารทั้งหมดลงจากรถ นับเป็นการปรามาสเจ้าหน้าที่หน่วยความมั่นคงในพื้นที่พอสมควร เพราะเจ้าหน้าที่ได้มีความพยายามจะชนะใจประชากรที่ส่วนใหญ่เป็นมุสลิมมลายูในพื้นที่

เจ้าหน้าทหารยังอ้างว่า ผู้ก่อความไม่สงบหลายร้อย และอาจร่วมหลายพันคน มีความคิดที่จะวางอาวุธ เพื่อเข้าร่วมโครงการพาคนกลับบ้านของรัฐบาลไทย

เหตุการณ์รุนแรงในเดือนธันวาคม ทำให้เจ้าหน้าที่ที่วางนโยบายในส่วนกลางรู้สึกอึดอัดใจ เพราะทำให้เกิดคำถามตามมาเกี่ยวกับความปลอดภัย บนถนนสายเดียวที่เชื่อมยะลาไปสู่เบตง หนึ่งในจังหวัดชายแดนที่มีความสำคัญ ที่ซึ่งกำลังมีการก่อสร้างสนามบินระหว่างประเทศ

โดยปฏิกิริยาตอบโต้แรกของ พลโทปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 ได้กล่าวว่า อาจเป็นฝีมือของกลุ่มที่ก่ออาชญากรรมที่ถูกจ้างมา

เมื่อการสืบสวนเริ่มคลี่คลาย และแหล่งข่าวของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบได้ออกมาพูดมากขึ้น จึงดูเหมือนว่าการก่อเหตุการณ์รุนแรงจะเป็นยุทธศาสตร์ส่วนหนึ่งของขบวนการแบ่งแยกดินแดน ที่ต้องการทำให้การแถลงการณ์ที่จริงจังของรัฐบาลไทยขาดความเชื่อถือว่า ถนนสายนี้ไม่ปลอดภัยในการเดินทาง

เพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้เป็นกลุ่มบ้าคลั่งไร้แนวทางที่ใช้การนับหัวคน ที่ตนทำร้าย โดยในกรณีนี้ กลุ่มผู้ก่อความม่สงบไม่ได้ทำอันตรายผู้โดยสารบนรถทัวร์เลย และยังได้หยุดการจราจรเพื่อให้ผู้โดยสารสามารถข้ามถนน ทั้งพวกเขายังช่วยยกกระเป๋าให้คนสูงอายุ

มันเป็นวิธีที่พวกเขาแสดงความเคารพขอบเขต แม้ว่า ทั้งสองฝ่ายจะไม่มีการเขียน กฎการปะทะ เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม

ปฏิบัติการบุกจับ

ในสองสัปดาห์ถัดมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตอบโต้การก่อเหตุการณ์เผารถ โดยดำเนินการตรวจค้นกวาดจับ ในเขตพื้นที่บันนังสตา และหมู่บ้านใกล้เคียง เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยร่วม 50 คน จากการปฏิบัติการครั้งนั้น

เจ้าหน้าที่กล่าวว่า ผู้ที่ถูกควบคุมตัวให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ ส่วนญาติของผู้ที่ถูกควบคุมตัว พากันมารอที่หน้าศูนย์ฯ ที่บุตรชายและสามีของพวกเขาถูกจับตัวมาภายใต้กฎอัยการศึก ซึ่งอนุญาตให้ทางการจับตัวได้ โดยไม่สามารถร้องขอความช่วยเหลือจากตัวแทนกฎหมายใดๆ ญาติๆ เกรงเหตุเลวร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะไม่สามารถติดต่อผู้ถูกคุมขังได้ หลังจากที่หลายคนถูกปล่อยตัวออกมาแล้ว

องค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งในและต่างประเทศได้มีการบันทึกรวบรวม ข้อกล่าวหาว่า เจ้าหน้าที่ทำการทรมานและละเมิดคุกคามผู้ต้องหา แต่เจ้าหน้าที่ มักจะไม่ถูกสอบสวน หรือดำเนินการทางกฎหมาย และทางกองทัพมักจะข่มขู่ว่าจะดำเนินคดีกับผู้ฟ้องร้องหรือกล่าวหาเจ้าหน้าที่

เจ้าหน้าที่ฝ่ายการทหารบางส่วนในพื้นที่ ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการกวาดจับในเดือนมกราคม บางคนแย้งว่า จะทำลายความพยายามในการต่อต้านสถานการณ์ความไม่สงบโดยรวม เพื่อให้ได้ใจและแรงสนับสนุนจากชาวมุสลิมมลายู ที่มีมากกว่าร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมดจำนวนสองล้านคน ที่อาศัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้

พวกเขาวิตกว่า การสุ่มกวาดล้างคนเหล่านั้น อาจจะทำให้ขบวนการก่อความไม่สงบมองว่า ทำเกินกว่าเหตุ และอาจก่อให้เกิดการตอบโต้อย่างรุนแรงได้

ซึ่งข้อวิตกกังกลดังกล่าว ก็เป็นที่ประจักษ์ เมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา กลุ่มขบวนการที่ปฏิบัติการในพื้นที่ยะลาได้วางระเบิดจักรยานยนต์บอมบ์ครั้งใหญ่ ที่ตลาดในเมืองยะลา ทำให้มีชาวบ้านเสียชีวิต 3 ราย รวมถึง นักศึกษาศาสนาอิสลาม

ถือเป็นการส่งข้อความให้ฝ่ายไทยอย่างดังและชัดเจน ว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่นั้น ส่งผลร้ายแรงถึงชีวิต กับการที่กองทัพมีการละเมิดเกินกว่าเหตุ ก็ได้รับการกระทำกลับมาจากกลุ่มขบวนการเช่นเดียวกัน

ผู้สังเกตการณ์ความขัดแย้ง การกระทำรุนแรงของขบวนการก่อความไม่สงบ ที่อยู่เบื้องหลังเหตุดักปล้นเผารถ กับกลุ่มเซลล์ปฏิบัติการในพื้นที่ที่ใช้มอเตอร์ไซค์บอมบ์ตลาดนั้น ช่างเป็นการกระทำที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กลุ่มขบวนการในพื้นที่มีมุมมองที่แตกต่างกัน

"ดูเหมือนว่าผู้ก่อความไม่สงบบางคน ไม่รู้สึกผิดที่กระทำออกนอกขอบเขต ในส่วนที่ถือว่า เป็นการยอมรับซึ่งกันและกัน ขณะที่บางคนเชื่อว่า ต้องมีการเคารพหลักมนุษยธรรม” อาร์เทฟ โซห์โก (Artef Sohko) นักเคลื่อนไหวทางการเมืองจาก เดอะ ปาตานี (The Patani) องค์กรภาคประชาสังคมที่ส่งเสริมสิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง สำหรับคนที่อยู่ในพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่มีความขัดแย้ง

ในขณะที่ความเสียหายข้างเคียงโดยไม่ตั้งใจ มักเกิดขึ้นในเหตุความขัดแย้ง และควรตำหนิทั้งสองฝ่าย เพราะเหตุการณ์ความรุนแรงเหล่านี้ เป็นไปได้ยากมากที่จะแยกเป้าหมายอ่อนแอ

ครั้งสุดท้ายที่ มีการแยกกลุ่มเป้าหมายอ่อนแอ ในเหตุรุนแรงทีเกิดพื้นที่ชายแดนใต้ คือ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เมื่อมีการวางระเบิด ในตอนกลางคืน ใจกลางเมืองปัตตานี ที่มีผู้เสียชีวิต 1 รายและบาดเจ็บอีก 18 คน

ซึ่งเป็นการตอบโต้แก้แค้นการควบคุมตัว นักเรียน นักศึกษา และเยาวชน ชาวปัตตานีมลายูที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งแหล่งข่าวขบวนการแนวร่วม กล่าวว่า ผู้ที่ถูกจับบางรายอ้างว่า ถูกประทุษร้าย

เนื่องจากไม่มีการเขียน กฎการปะทะเป็นลายลักษณ์อักษร จึงขึ้นอยู่กับทั้งสองฝ่าย ได้ตัดสินใจขีดเส้นแดงชัดเจนว่า อะไรคือการโจมตีตอบโต้กลับ หากถูกก้าวละเมิด

กลุ่มแนวร่วมฯ สั่งการให้เกิดความรุนแรงขึ้น

แต่หน่วยความมั่นคงไทยก็ยังคงไม่หยุดยั้งการปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยไม่ต้องกล่าวถึงรูปแบบอื่น ๆ ของการล่วงละเมิด อันที่จะผลักดันประชาชนให้มาปรองดองกับฝ่ายรัฐ

นอกจากนี้ ยังไม่มีการอธิบายการกระทำของฝ่ายรัฐ เพราะผู้กำหนดนโยบายและวางแผนด้านความปลอดภัย ที่อยู่ในกรุงเทพฯ มีงานอื่นที่สำคัญกว่าต้องดำเนินการ ทำให้ผู้บัญชาการทหารในพื้นที่ ถูกปล่อยให้ดำเนินการตามแผนงานของตนเอง

เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารวาดภาพตนเองว่า เป็นผู้อยู่เหนือกลุ่มแนวร่วมฯ เพราะเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้อยู่เบื้องหลังความรุนแรง และยังเชื่อว่า หากกลุ่มแนวร่วมฯ ใช้ความรุนแรงมากขึ้นเท่าไร พวกเขาก็จะอยู่ห่างไกลจากชุมชนมากขึ้นเท่านั้น

เจ้าหน้าที่รัฐมักระบุว่า ตัวเลขของเหตุการณ์รุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ลดต่ำลงตลอดมา ตั้งแต่ปี 2550 แต่แหล่งข่าวจากขบวนการแบ่งแยกดินแดนกล่าวว่า พวกเขาต่างหาก เป็นผู้ตัดสินใจลดจำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงเหล่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง กลุ่มแนวร่วมฯ ได้รับคำสั่งให้ก่อเหตุแต่ละครั้งให้แรงขึ้น และทุกครั้งที่มีการก่อเหตุ

แต่ไม่ได้หมายถึงว่า ทหารไม่สมควรจะได้รับเครดิต ในการที่จำนวนเหตุการณ์รุนแรงลดลง การตัดสินใจในการย้ายทหารพรานเข้ามาประจำในพื้นที่ที่ห่างไกลนี้ ช่วยเพิ่มโครงข่ายความปลอดภัย และมีการตอบสนองที่ดีขึ้น

ในขณะที่ การเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ความรุนแรง แสดงให้เห็นว่ากลุ่มแนวร่วมผู้ก่อความไม่สงบ สามารถจะก่อเหตุได้ทุกที่ และทุกเวลา และแม้กระทั่งกับเป้าหมายที่อยู่นอกพื้นที่ความขัดแย้ง ในมุมมองของพวกเขา ตราบใดที่มีการเคลื่อนไหวก่อเหตุ รัฐบาลก็ไม่สามารถจะเรียกร้องชัยชนะได้

จนกว่าจะมีใครที่สามารถนำทั้งสองฝ่าย เข้ามาทำข้อตกลงร่วมแห่งกฎการปะทะได้ การใช้ความรุนแรงแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน ก็จะยังดำเนินต่อไปโดยไม่สิ้นสุด

ดอน ปาทาน เป็นนักวิเคราะห์อิสระ ประเด็นความมั่นคง และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์กรปาตานีฟอรั่ม(www.pataniforum.com) องค์กรเอกชนที่ทำงานเอื้ออำนวยต่อการแลกเปลี่ยน ถกเถียง ในประเด็นที่มีความสำคัญต่อปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

ความคิดเห็นที่แสดงในงานเขียนชิ้นนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น ไม่ใช่ของเบนาร์นิวส์

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง