องค์กรอิสระโจมตีเผด็จการอินเทอร์เน็ตของจีน

ทีมข่าวเบนาร์นิวส์
2018.11.01
วอชิงตัน
181101-BD-shahidul-1000.jpg ประชาชนกลุ่มเล็กร่วมชุมนุมเพื่อเป็นกำลังใจแก่ ชาฮิดุล อลัม สื่อมวลชนชาวบังคลาเทศที่ถูกตัดสินจำคุก นอกสำนักงานใหญ่ยูเอ็นนิวยอร์ก วันที่ 27 กันยายน 2561
เอพี

เสรีภาพอินเทอร์เน็ตทั่วโลกในปีนี้ นับว่าเสื่อมถอยลง เพราะกว่า 20 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ได้ก้าวเข้าสู่ระบบเผด็จการดิจิทัล โดยใช้รูปแบบขยายการเซ็นเซอร์และระบบเฝ้าระวังตามรูปแบบของประเทศจีน องค์กรฟรีดอมเฮาส์ กล่าวในรายงานประจำปี

องค์กรฟรีดอมเฮ้าส์ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระของสหรัฐฯ ที่เฝ้าติดตามการทำงานด้านการขยายเสรีภาพและประชาธิปไตยทั่วโลก กล่าวในรายงาน “เสรีภาพบนอินเทอร์เน็ต 2018/2561” ซึ่งเผยแพร่ออนไลน์ในสัปดาห์นี้ว่า เสรีภาพของสื่อออนไลน์ใน 36 ประเทศ ลดน้อยลง จากการติดตาม 65 ประเทศเป็นคดีศึกษาในรอบ 12 เดือน จนถึงเมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้

“ประชาธิปไตยกำลังดิ้นรนอย่างลำบากในยุคดิจิทัล ขณะที่ จีนกำลังส่งออกรูปแบบการเซ็นเซอร์และการเฝ้าระวังควบคุมข้อมูลทั้งภายในและภายนอกเขตแดน” ไมเคิล เจ. อับรามอวิทซ์ ประธานองค์กรฟรีดอมเฮ้าส์ กล่าวในแถลงการณ์

รายงานกล่าวว่า จีน มีการจำกัดเสรีภาพที่มีประสิทธิภาพและละเมิดสิทธิทางอินเทอร์เน็ตที่เลวร้ายที่สุด และก็ยังไม่รีรอที่จะส่งออกมาตรฐานดังกล่าวของตนออกสู่ทั่วโลก

"กลุ่มประเทศเหล่านั้นกำลังเดินหน้าเข้าสู่ระบบเผด็จการดิจิทัล โดยการรวบรวมรูปแบบการเซ็นเซอร์และระบบเฝ้าระวังอัตโนมัติตามแบบจีน" เอเดรียน ชาห์เบซ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านเทคโนโลยีและประชาธิปไตยของ ฟรีดอมเฮ้าส์ กล่าวในรายงานของเขา ว่า "ผลมาจากแนวโน้มเหล่านี้ ทำให้เสรีภาพอินเทอร์เน็ตทั่วโลกได้ถดถอยติดต่อกันเป็นปีที่แปด"

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามพหุภาคี ปักกิ่งจึงกำลังพัฒนาชั้นสูงและรัฐมนตรีประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อสร้างเครือข่ายประเทศที่จะเป็นไปตามนโยบายอินเทอร์เน็ต เจ้าหน้าที่จีนมักจะมีการฝึกอบรมและสัมมนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ และการจัดการข้อมูล รายงานกล่าว

สื่อมวลชนและผู้สื่อข่าวชั้นนำจากฟิลิปปินส์เยือนจีนเป็นเวลาสองสัปดาห์ ในเดือนพฤษภาคมปี 2561 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ "การพัฒนาสื่อใหม่" และรวมถึง สื่อมวลชนอาวุโส จากประเทศไทย ซึ่งศูนย์ข่าวจีนได้บรรยายว่า เป็นโอกาสสำหรับผู้มาเยือนในการเรียนรู้ "ความฝันที่จะมีรูปแบบเหมือนของจีน"

การเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัวส่งผลทั่วโลก

การรับมือกับความเกรงความไม่ปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล หลายประเทศได้ออกกฎหมายให้สิทธิแก่บุคคลให้สามารถควบคุมการเก็บและแชร์ข้อมูลของตนเอง ฟรีดอมเฮ้าส์ กล่าวโดยอ้างว่า อย่างน้อย 35 ประเทศ ได้มีกฎหมายป้องกันข้อมูลแล้ว

แม้ว่า ประเทศไทยยังคง “ไม่มีเสรีภาพ” ติดต่อกันเป็นปีที่ห้าแล้ว แต่เสรีภาพการใช้อินเทอร์เน็ตขยับดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากการเข้าถึงที่เพิ่มขึ้นและความรุนแรงที่มีต่อผู้สื่อข่าวออนไลน์และผู้ใช้สื่อออนไลน์อื่น ๆ น้อยลง รายงานฟรีดอมเฮ้าส์กล่าว

รัฐบาลทหารโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ทำรัฐประหารเมื่อสี่ปีที่แล้ว "ยังคงคุมฐานโครงสร้างของการสื่อสารโทรคมนาคม แม้คนไทยจะมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นก็ตามที" รายงานกล่าวต่อว่า รัฐบาลไทยได้ก่อตั้ง บริษัทเครือข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ และศูนย์ข้อมูลและเกตเวย์แห่งชาติ (National Broadband Network Company และ National Gateway and Data Center) ขึ้นในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

ประเทศไทยได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา พรบ.คอมพิวเตอร์ ในเดือนพฤษภาคมปี 60 แม้ว่าจะมีการคัดค้านอย่างรุนแรงจากนักเคลื่อนไหวด้านเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตก็ตาม

นับตั้งแต่รัฐบาลทหารได้ยึดอำนาจ จนถึงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รัฐบาล คสช. ได้ดำเนินคดีกับบุคคลอย่างน้อย 94 คน ในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งผู้กระทำความผิดอาจถูกจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี จากการแชร์ข้อมูลบนเฟสบุ๊ค รายงานตามข้อมูลจาก iLaw

ฟรีดอมเฮ้าส์ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกออกกฎหมายที่เข้มแข็ง และปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้มั่นใจว่า กฎหมายและการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ทั้งหมด เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานสากลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง